วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553


บทที่ 1

บทนำ


ความเป็นมาและความสำคัญของโครงงาน


      ปัญหาขยะนับเป็นปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งที่เราต้องเผชิญในยุคปัจจุบัน ในแต่ละวันมี ของเหลือทิ้งเหลือใช้ที่เกิดจากการอุปโภคบริโภคเป็นจำนวนมากจนดูประหนึ่งว่าสักวันอาจจะเกิดการขยะล้นโลกก็เป็นได้ในแต่ละประเทศมีขั้นตอนในการกำจัดขยะที่แตกต่างกันบ้างฝังกลบบ้างเผากำจัดซึ่งแต่ละวิธีก็ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันได้แทบทั้งสิ้นยิ่งในขยะที่มีสารพิษปลอมปนอยู่อาจจะถึงขั้นไปเช่าพื้นที่ในประเทศด้อยพัฒนาเพื่อฝังกลบขยะกันเลยทีเดียวขยะบางประเภทก็สร้างปัญหาให้มวลมนุษย์และโลกในระยะยาวเพราะไม่สามารถย่อยสลายลงได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วแต่ต้องใช้เวลานานนับร้อยนับพันปีเพื่อการย่อยสลายเช่นพวกพลาสติกต่างๆเป็นต้นจนกระทั่งแนวคิดเกี่ยวกับการรีไซเคิลและหรือรียูส ได้เกิดขึ้นซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นทางออกในการลดขยะหรือสิ่งเหลือใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพแม้จะไม่ลดไปถึงขั้นที่ทำให้การกำจัดขยะเป็นไปได้อย่างมีเด็ดขาดแต่แนวคิดนี้ก็ช่วยส่งเสริมให้เกิดขยะใหม่ลดจำนวนลงได้มากทีเดียวกระแสการใช้ทรัพยากรอย่างรู้ค่าเกี่ยวกับการรีไซเคิล-รียูสตื่นตัวอย่างเต็มที่พร้อม ๆ กับเรื่องราวของความน่าสะพรึงกลัวของสภาวะโลกร้อน ซึ่งต้นตอปัญหามาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเรานั้นเองดังนั้นน่าจะเป็นเรื่องที่ถูกสำหรับทางออกของสภาวะโลกร้อนที่เหตุประการแรกคือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรของตัวเราเองหลายสิ่งหลายอย่างที่เรากินใช้อยู่ในชีวิตประจำวันเราสามารถใช้ให้มีคุณค่ามากกว่าพฤติกรรมเดิม ๆ ทั้งขวดน้ำพลาสติกกล่องนมบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ สามารถนำมารีไซเคิลได้แทบทั้งสิ้นรีไซเคิล เป็นการนำเศษวัสดุของเหลือกินเหลือใช้มาแปรรูปใหม่เพื่อนำกลับมาใช้งานอีก ครั้งเป็นการจัดการวัสดุเหลือใช้ที่กำลังจะเป็นขยะโดยนำไปผ่านกระบวนการแปรสภาพและนำกลับมาใช้ใหม่ส่วนนิยามของคำว่ารียูส นั้นหมายถึงการนำกลับมาใช้ใหม่โดยไม่ผ่านกระบวนการแปรสภาพใดๆทั้งสิ้น
         การรีไซเคิล-รียูสถือเป็นการกระตุ้นจิตสำนักในการใช้ทรัพยากรและรักษา สิ่งแวดล้อมอยู่ร่วมกันในธรรมชาติโดยถ้อยทีถ้อยอาศัยและเราในฐานะของปัจเจกชนผู้เป็นส่วนย่อยที่สุดในสังคมถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มที่สำคัญของกระบวนการเริ่มกันเสียตั้งแต่วันนี้แล้วจะรู้ว่ามนุษย์เราสามารถทำได้มากกว่าการใช้ แล้วทิ้ง
          การรีไซเคิลทำให้โลกมีจำนวนขยะลดน้อยลงและช่วยลดปริมาณการนทรัพยากรธรรมชาติ มาใช้เป็นวัตถุดิบในโรงงานอุตสาหกรรมให้น้อยลงลดการถลุงแร่บริสุทธิ์และลดปริมาณการโค่นทำลายป่าไม้ลงด้วยการหมุนเวียนนำมาผลิตใหม่ยังเป็นการลดการใช้พลังงานจากใต้ภพลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่อากาศและลดภาวการณ์เกิดฝนกรดสำหรับ ประเทศไทยนั้น จากการศึกษาของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม พบว่า ศักยภาพของวัสดุเหลือใช้ที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้จากมูลฝอยที่เก็บขน ได้ใกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศมีประมาณร้อยละ 16-34 ของปริมาณมูลฝอยที่เก็บได้ แต่มีเพียงร้อยละ 7 หรือประมาณ 2,360 ตันต่อวันเท่านั้น ที่มีการนำกลับมาใช้ประโยชน์ การนำกลับมาใช้ใหม่ จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยเพิ่มคุณภาพให้กับชีวิตเพิ่มคุณค่าให้ กับ สิ่งแวดล้อม และช่วยถนอมรักษาทรัพยากรธรรมชาติของโลกไว้ได้ดีที่สุด ในหนทางหนึ่ง

วัตถุประสงค์ของโครงงาน

1. เพื่อนำเศษวัสดุเหลือใช้นำกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์
2. เพื่อสร้างทัศนะคติที่ดีให้ผู้ทิ้งขยะลงถัง
3. เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งาน

เป้าหมายของโครงงาน


เชิงปริมาณ
ถังขยะรีไซเคิลอัจฉริยะ พร้อมกับรายงานแสดงผลการทำงาน จำนวน 1 ชุด

เชิงคุณภาพ

1. ได้นำเศษวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์
2. ผู้ใช้มีทัศนะคติที่ดีในการทิ้งขยะ
3. ผู้ใช้มีความสะดวกสบายเนื่องจากเป็นระบบอัตโนมัติที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้

ขอบเขตของเนื้อหา

1. ความเป็นมาของการรีไซเคิลขยะ
2. ความหมายและความเข้าใจในการรีไซเคิลขยะ
3. ประเภทของขยะรีไซเคิล
4. ประโยชน์ของการรีไซเคิลขยะ
5. กระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์
6. การนำขยะรีไซเคิลไปใช้ใหม่
7. ลักษณ์สำคัญของการรีไซเคิลขยะ
8. ข้อดี-ข้อเสียของการรีไซเคิลขยะ
9. การนำเสนอเนื้อหาบทเรียน
10. รูปแบบของการรีไซเคิลขยะ

นิยามศัพท์เฉพาะ
ถังขยะหมายถึง สิ่งของที่อยู่ในรูปของแข็งซึ่งอาจมีความชื้นปะปนมาด้วยจำนวนหนึ่ง

    รีไซเคิล หมายถึง การจัดการวัสดุเหลือใช้ที่กำลังจะเป็นขยะ โดยนำไปผ่านกระบวนการแปรสภาพ โดยเฉพาะ การหลอม เพื่อให้เป็นวัสดุใหม่แล้วนำกลับมาใช้ได้อีก ซึ่งวัสดุนั้นอาจจะเป็นผลิตภัณฑ์เดิมหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ก็ได้
    อัจฉริยะ หมายถึง คนที่มีอารมณ์ขันเหลือเฟือและมีความสนุกสนานกับชีวิต ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงเรื่องใดๆ ที่ผ่านเข้ามาในเส้นทางชีวิตให้เป็นประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมได้

ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ได้นำเศษวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์
2. ผู้ใช้มีทัศนะคติที่ดีในการทิ้งขยะ
3. ผู้ใช้มีความสะดวกสบายเนื่องจากเป็นระบบอัตโนมัติที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น